หลักการของการเขียนแผนที่ความคิด
Mind Map® Concept

click 2 c full picture       การเขียนแผนที่ความคิด (Mind Map®) มีหลักการสำคัญที่จะต้องยึด เพื่อให้ได้ผลงาน แผนที่ความคิดที่มีความถูกต้องและ ง่ายในการอ่าน รวมทั้งการนำไปใช้ นำไปสื่อสาร เช่น การนำไปใช้ในการนำเสนอต่อที่ประชุม หากการเขียนแผนที่ควาคิดแบบไม่มีหลักการ ก็ย่อม จะทำให้ก่อ ปัญหาให้กับผู้รับฟัง หรือสื่อสารกับท่านได้
       มีหลายคนรู้เรื่องของ Mind Map® เพียงผิวเผินแล้วก็ไม่ได้ใช้งาน เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นก่อนจะนำ Mind Map® ไปใใช้งาน เรามาทำความรู้จักหลักการของการเขียนแผนที่ความคิดกันก่อน

เพื่อให้คงเนื้อหาเดิม ผู้เขียน จะใช้วิธีการแปล เป็นภาษาไทย บรรทัดต่อบรรทัด





Mind Map? Laws

These are the brain-reflecting foundation structures of a Mind Map.
The more of them you follow, the more effective your Mind Map.

ภาพแสดงหลักการ Mind Map® และการประยุกต์ใช้ Mind Map®


1. Start in the centre with an image of the topic, using at least 3 colours. เริ่มต้นจากบริเวณ กลางหน้ากระดาษ ใช้ปากกาสีอย่างน้อย 3 สีที่แตกต่างกัน

2. Use images, symbols, codes and dimensions throughout your Mind Map. ใช้ภาพประกอบ หรือสัญญลักษณ์ หรือรหัสให้กับแขนงความคิด ตลอดทั่วทั้ง Mind Map ถ้าสามารถใช้ได้ เช่น ใช้ภาพแทนข้อความ

3. Select key words and print using upper or lower case letters.
เลือกคำสั้นๆ สำคัญ แทนข้อความยาวๆ เช่น คำว่า การศึกษา การเรียน งาน แทนข้อความยาวๆ ในแขนงความคิด

4. Each word word/image must be alone and sitting on its own line.
คำหรือรูปภาพรวมทั้งข้อความจะต้องอยู่บนเส้นแขนงความคิด บนเส้นแต่ละเส้น แต่ละคำ อย่าเขียนไว้ปลายเส้น เพราะจะคล้ายกับความคิดสิ้นสุด

5. The lines must be connected, starting from the central image. The central lines are thicker, organic and flowing, becoming thinner as they radiate out from the centre. เส้นแต่ละเส้นจะต้องเชือมโยงออกจากแกนกลาง และแตกออกไปจากแขนงความคิด โดยเส้นที่อยู่ด้านในจะหนากว่า เส้นที่อยู่รอบ นอก จะบางลงไปเรื่อยๆ

6. Make the lines the same length as the word/image.
เส้นที่ลากออกไปจะมีความยาวเท่ากับคำหรือข้อความหรือรูปภาพของแต่ละแขนงความคิด

7. Use colours – your own code – throughout the Mind Map.
ใช้สีกำหนดความสำคัญหรือการเน้นข้อความตามลีลาของแต่ละคนที่เขียนแผนที่ความคิด

8. Develop your own personal style of Mind Mapping.
เขียนแผนที่ความคิดในแบบของแต่ละคน ที่มีลีลา หรือศิลปะ ที่แตกต่างกัน ลอกแบบกันไม่ได้

9. Use emphasis and show associations in your Mind Map.
เน้นคำสำคัญหรือการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของแขนงความคิดที่เกี่ยวเนื่องกันและกัน

10. Keep the Mind Map clear by using Radiant hierarchy, numerical order or outlines to embrace your branches.
เพื่อให้แผนที่ความคิดสวยงาม อ่านง่ายเป็นระเบียบ ให้แตกแขนงแบบรัศมีออกจากตรงกลาง ไปรอบๆ อาจจะใช้ตัวเลขกำกับหรือใช้สีกำหนดลำดับวงรอบ ของการเขียนแขนงความคิด



ตัวอย่างแผนที่ความคิด โดยการเขียนด้วยมือ (เป็นภาพจากการอบรมการเขียน Mind Map รพ.สระบุรี วันที่ 4 มีนาคม 2547 วิทยากร : ภก.ประชาสรรณ์ แสนภักดี) ในภาพ เป็นผลงานของพี่น้องชาว รพ.สระบุรี กลุ่มสาวสองพันปี เขียน Mind Map เรื่องความฝัน

Mind Map® เป็นเครื่องหมายจดทะเบียนการค้าทั่วโลก และประเทศไทย โดย Tony Buzan

Glocalization Training Center

e-mail : glocalization@thailand.com
Fax : 0-4332-4071
Mobile : 0-1661-8579
copy right © 2003-2004