ความเข้าใจผิดในการนำ Mind Map ®ไปใช้งาน
Unknow-How about Mind Map®
เรียบเรียงโดย ภก.ประชาสรรณ์ แสนภักดี M.P.H. CMU

click 2 c full pictureการเขียนแผนที่ความคิด (Mind Map®) มีประโยชน์หลากหลายด้านในการนำไปใช้งาน ทั้งกับงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงการทำงานกับชุมชน ในระดับรากหญ้า แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีผู้ที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ Mind Map® ในหลากหลาย แบบ ทั้งเกิดจากการไม่เคยเรียนรู้ เรื่องของ Mind Map® หรืออาจจะเกิดจากอคติส่วนตัว หรือการไม่ชอบผู้ที่นำ Mind Map® มาใช้เป็นการส่วนตัว เพื่อสร้างความเข้าใจใหม่ ให้กับผุ้เข้าใจผิด ทั้งหลาย ผู้เขียนขอนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ในเรื่องของ Mind Map® ให้ท่านได้เรียนรู้

ทั้งหมดเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ท่านผู้อ่านไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หากมีความคิดเห็นที่แตกต่าง ก็ e-mail ไปคุยกันนะครับ ที่ glocalization@thailand.com หรือ ติดต่อน้องนิ่ม เลขาฯศูนย์ฝึกอบรม dmindmap@yahoo.com

Mind Map® เป็นเครื่องหมายจดทะเบียนการค้าทั่วโลก และประเทศไทย โดย Tony Buzan

 

 

ความเข้าใจผิด
ข้อเท็จจริง
Mind Map® เป็นเรื่องของพวกที่ทำงาน ชุมชน ประชุมชาวบ้านในหมู่บ้าน จริงๆ แล้ว Mind Map® ได้รับการกล่าวถึง และนำมาใช้งานในบริษัทขนาดใหญ่ ถึงระดับยักษ์ใหญ่ เช่น HP (Hewlett Packard) ,IBM และอีกหลายๆ องค์กร ศึกษาข้อมูลรายชื่อองค์กรที่นำไปใช้งานได้จาก www.mindjet.com และ www.mindgenius.com www.mindmapper.com
Mind Map® ดูยาก สู้เขียนเป็นบรรทัด เป็นหัวข้อ แบบเส้นหน้ากระดาษไม่ได้ หากเรื่องที่จะเขียนมีประมาณ 5-10 คำหรือบรรทัด เขียนเป็นบรรทัด คงไม่มีปัญหา ผู้เขียนไม่เถียง แต่หากเป็นการสรุปการประชุม หรือการสัมมนา โดยการรวบรวมความคิดเห็นจากคนเป็น 100 คน มิต้องเขียนกันเป็น 10 หน้าหรืออย่างไร แต่ Mind Map® เขียนทุกอย่าง ทุกความคิดเห็นลงไว้ในหน้ากระดาษ แผ่นเดียวได้
Mind Map® ใครก็เขียนได้ แค่แตกแขนงออกไปรอบๆ เขียนข้อความ ลากเส้นทำตามขั้นตอนข้อกำหนด ก็เขียนได้แล้ว ข้อนี้ผู้เขียนไม่เถียง ใครๆ ก็เขียนได้ ขอให้เขียนเส้น หรือตัวหนังสือได้ก็เขียนได้แล้ว แต่สิ่งที่มีความสำคัญคือ การจัดลำดับความสำคัญของความคิด บนแขนงความคิด ในแผนภูมิความคิดต่างหากคือสิ่งสำคัญ เช่น ตรงกลาง Subject of Mind Map® จะเป็นคำว่า อะไร คำที่แตกออกรอบๆ จะใช้คำว่าอะไร คำไหนมาก่อนคำไหน ตรงนี้ ภาษา Mind Map® เขาเรียกว่า พื้นฐานการจัดลำดับความสำคัญของความคิด Basic Ordering Ideas - BOIs สำคัญมาก ดังนั้นคนที่จะเขียน Mind Map ได้เป็นเรื่องเป็นราว ต้องเรียนรู้มาก ๆ รวมทั้งอ่านหนังสือมากๆ ฟังคนอื่นๆ มากๆ ฝึกการฟังด้วยหู ใช้หัวคิด แล้วออกที่มือ เขียนนั่นเอง
Mind Map® เขียนยากเพราะไม่มีโปรแกรม เขียนเฉพาะ ใช้พวกโปรแกรม MS Office เช่น MS Word กว่าจะเขียนได้ก็ยาก เสียเวลา เรื่องนี้ ต้องบอกว่าปัจจุบันเรามีทางเลือกในการ เขียน Mind Map ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ช่วยให้สะดวก สบายมากขึ้น มีโปรแกรมหลายๆโปรแกรมที่ใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี ให้ผลงาน ที่มีคุณภาพสวยงาม นำเสนอได้อย่างดึงดูดใจ ดูรายชื่อโปรแกรม เพิ่มเติมได้ จากหน้าเว็บแนะนำโปรแกรม หรือไป ที่ www.mind-map.com ของสถาบัน บูซาน
Mind Map® ที่เขียนแล้ว เวลาจะนำไปสรุปเป็นรายงานการประชุม ในรูปแบบเดิมๆ เป็นบรรทัด เลขา ต้องไปทำงานซ้ำซ้อนเสียเวลาสู้จด เป็นบรรทัดแต่แรกจะดีกว่า ไม่เสียเวลา เพราะ Time is money โปรแกรมเขียน Mind Map® ที่มีใช้ในท้องตลาด เกือบทุกโปรแกรม สามารถใช้งานร่วมกับ โปรแกรม ในชุด Microsoft Office ได้เป็นอย่างดี เช่น การส่งจ้อมูลออก (Export to) ไปยัง MS Word ทำให้ข้อมูลที่ อยู่ในรูป Mind Map® ถูกจัดเรียงเป็นบรรทัด กลับคืน รวมทั้งมีข้อมูล Note บนแขนงความคิดติดออกมาด้วย ดังนั้นปัญหาจึงไม่ใช่การเสียเวลา แต่เราจะได้ประโยชน์คือ ทำงานครั้งเดียวได้ทั้ง แบบเป็นบรรทัด และเป็น แผนที่ความคิด ไปพร้อมๆ กัน แถมยังสามารถส่งข้อมูลไปยังโปรแกรม ทางด้านการบริหารโครงการ อย่าง MS Project 2000/2003 ได้ด้วย
Mind Map® เป็นเครื่องมือของ พวกนักพัฒนา พวกบ้า เทคนิค เช่น พวกบ้า AIC FSC พวกทำกิจกรรม OD - Organization Development ผู้เขียนเคยเจอประเด็นนี้มาแล้ว ถูกกล่าวหาว่าบ้าเทคนิค จริงแล้ว Mind Map® เป็นเครื่องมือทางการจัดการความคิดตัวหนึ่ง ดังนั้น จะเป้นนักบริหาร หรือนักพัฒนาก็สามารถนำไปใช้งานได้ทั้งนั้น ยิ่งเข้าใจมันมากๆ ก็ยิ่งได้ประโยชน์จากมัน หลายคนแสดงอาการไม่ชอบ แต่ก็ไม่เห็นนำเครื่องมืออื่นๆ ที่ว่าดีกว่ามาใช้งาน พวกนี้ ดีแต่กล่าวหาชาวบ้าน แต่ตัวเอง ก็ไม่มีขอดี
ยังมีเรื่องราวความไม่เข้าใจ และเข้าใจผิดอีก หลายประเด็น จะนำมาให้เรียนรู้ในโอกาสต่อไป นะครับ อย่าลืมติดตาม  



Glocalization Training Center

e-mail : glocalization@thailand.com
Fax : 0-4332-4071
Mobile : 0-1661-8579
copy right © 2003-2004