37 ข้อแนะนำการถ่ายภาพรับปริญญาให้สวยงาม
โดย เภสัชกรประชาสรรณ์ แสนภักดี B.Sc.(Pharm) KKU, M.P.H. CMU
ผู้จัดการศูนย์ฝึกอบรมภูมิปัญญาสู่สากล


เนื้อหาฉบับเต็ม รายละเอียดเพื่ออ่านเพิ่มเติม click

การถ่ายภาพรับปริญญาเป็นงานที่ต้องอาศัยหลายปัจจัย เพื่อให้ผลงาน ออกมาดี เรียกว่า มีกล้องดีอย่าง เดียงคงไม่พอ หรือบางคน มีช่างภาพระดับมืออาชีพ แต่อุปกรณ์ไม่ครบ หรือบางครั้งตัวบัณฑิตเอง แสดงท่าทาง หรือที่เรียกว่า Pose ท่าไม่เป็น ก็ไม่ได้ภาพสวยดั่งที่ใจต้องการ ต่อไปนี้จะเป็นข้อแนะนำในการถ่ายภาพ งานรับปริญญาให้ออกมาสวยงาม โดยผู้เขียนได้รวบรวมมาจากประสบการณ์ ในการถ่ายภาพงานรับปริญญา มากว่า 15 ปี (ใช้ทั้งกล้องใช้ฟิล์ม และกล้องดิจิตอล)

เนื้อหาจะแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ประกอบด้วย 1) อุปกรณ์ถ่ายภาพ 2) สถานที่ถ่ายภาพ 3) ตัวแบบหรือบัณฑิต 4) ช่างภาพ 5) ญาติๆ เพื่อนๆ ของบัณฑิต 6) การวางแผนในการถ่ายภาพ

อุปกรณ์ถ่ายภาพ (Photography Tools)

1. กล้องถ่ายภาพที่ใช้ในการถ่ายภาพรับปริญญา บัณฑิตแต่ละคนควรจะมีกล้องที่นำมาใช้งาน อย่างน้อยสอง ตัว เพื่อป้องกันปัญหากล้องใช้งานไม่ได้ อย่ามั่นใจกล้องเป็นอันขาด ช่างภาพหากรับจ้างถ่ายภาพ ก็ต้องเตรียม กล้องสำรอง กันพลาด กล้องใช้งานไม่ได้บางครั้งเกิดจาก Battery หมด บางครั้งเกิดจากฝุ่น บางครั้งเกิดจากระบบไฟในตัวกล้อง (CPU ) ของกล้อง สรุปคือ เตรียมกล้องหลัก และกล้องรองไว้เผื่อ

2. สิ่งที่ต้องเตรียมไว้ให้เพียงพอ และเผื่อด้วยคือ ฟิล์ม (Film) สำหรับผู้ใช้กล้องฟิล์ม เผื่อเกินไป สัก 2-3 ม้วน เช่น ประเมินว่า จะใช้งาน ประมาณ 10 ม้วน ก็ต้องเตรียมแล้ว อย่างน้อย 12 ม้วน กันพลาด ส่วนผู้ที่ใช้กล้อง ดิจิตอล อย่าลืม หาแผ่น Card บันทึกไว้ให้เพียงพอ จะได้ถ่ายภาพ แบบละเอียด ๆ ได้เต็มที่ Card จะได้ไม่เต็ม ในวินาทีที่สำคัญ (หากไม่ลำบากให้ยก Notebook ไปด้วยเอาไว้ Load ภาพ)

3. Battery สำรอง ไม่ว่าจะใช้กล้องอะไร รุ่นไหน ถ่านสำหรับกล้อง และอุปกรณ์เสริมจะต้องมีการเตรียมสำรอง ไว้ ด้วย เช่น ถ่านแฟลช ถ่านกล้อง โดยเฉพาะกล้องที่ไม่ได้ใช้งาน มานานๆ ให้ตรวจดู Battery อาจจะใกล้หมด ถ่ายภาพ ในภาคสนามงานรับปริญญาไปสัก สอง สามม้วน ปรากฎว่าถ่านหมด จะมาเสียใจทีหลัง ยิ่งใครที่ใช้กล้องถ่ายภาพ ประเภทที่ต้องใช้ถ่านเฉพาะแบบของยี่ห้อนั้นๆ ต้องเตรียม สำรองไว้ให้เพียงพอ หมดจะวิ่งไปหาซื้อไม่ทันการณ์แน่


4. ใครที่มีกระเป๋ากล้องใช้ แล้วใส่อุปกรณ์ทุกอย่างไว้ในกระเป๋ากล้อง พอจะออกไปทำงาน ก็หยิบกระเป๋ากล้องขับรถออกไปทำงาน ระวังให้ดี อาจจะลืมว่าตัวเองหยิบ อะไร ออกจากกระเป๋า ไปไว้ที่อื่น หรือไม่ อย่างเช่น Filter Soft หรือวงแหวน ปรับขนาด (Step ring) หรือกระดาษเช็ดเลนส์ รวมทั้งที่เป่าฝุ่น ดังนั้น แล้ว ควรจะมีการ ตรวจสอบอุปกรณ์ให้พร้อมเสมอ ก่อนนำออกไปใช้งาน

5. ฟิลเตอร์ที่ควรจะติดตัวไปด้วยในการถ่ายภาพ รับปริญญา เช่น ฟิลเตอร์ซอฟท์ ช่วยทำให้ภาพนุ่มนวล ฟิลเตอร์สร้างสรรค์ อื่นๆ เช่น Center focus เพื่อเน้น ให้แบบอยู่ตรงกลาง แล้วเด่นชัดขึ้น

6. แผ่นสะท้อนแสง (Reflector) หากหามาใช้งานได้ควรจะมีไว้ เพื่อให้ได้ภาพที่สวยงาม เพื่อใช้ในการสะท้อนแสงเปิดเงา บนใบหน้า กรณีถ่ายภาพให้แสงเข้าด้านหลัง หรือการถ่ายภาพ ในเวลากลางวัน เที่ยงวัน หากไม่สามารถหาแผ่นสะท้อนแสงได้ อาจจะใช้แผ่นโฟม หรือ กระดาษขาว ใช้เป็นแผ่น สะท้อนแสงแทนได้
more
สถานที่ถ่ายภาพ (Location)

1. ควรจะมีการวางแผนเรื่องการถ่ายภาพให้เรียบร้อยก่อนออกไปถ่ายภาพ ว่าจะเดินทางเพื่อไปถ่ายภาพ ณ จุดใดบ้าง เพื่อให้ไม่มีปัญหาในเรื่องของเวลา เพราะในวัน ถ่ายภาพจริง อาจจะมีรถยนต์จำนวนมาก ทำให้การเดินทางไม่สะดวก ควรจะไปถ่ายภาพที่ใดบ้าง ---> ป้ายสถาบัน ป้ายคณะ ป้ายภาควิชา ตึก หรืออาคารสำคัญ ๆ ของสถาบัน มุมสวยๆ ของสถาบัน สถานที่ๆ ประทับใจเมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษา อยู่

2. เลือกฉากหลังให้เรียบง่าย (Background) ฉากหลังของภาพ ควรจะให้ความสำคัญ โดยมีหลักการว่า ฉากหลังจะต้องไม่ยุ่งเหยิง ไม่มีต้นไม้ หรือเสา โผล่ ขึ้นจากหัวบัณฑิต รวมทั้งฉากหลังต้องไม่ดึงดูดสายตาไปจากตัวแบบ เช่น มีสีขาว หรือ สีเหลืองอยู่ข้างหลังบัณฑิต

3. สถานที่ถ่ายภาพที่น่าสนใจ มีสถานที่ที่น่าสนใจหลายแห่งที่ช่างภาพ หรือบัณฑิตควรจะไม่พลาดในการเดินทางไป ถ่ายภาพ เช่น อาคารที่มีขนาดใหญ่ แล้วมีบันได ทางเดินขึ้นสูงๆ เราสามารถเลือกหามุมให้บันได เป็นฉากหลัง ในการถ่ายภาพได้ หรือบางครั้งหากเป็นสถาบันที่มีสะพาน ก็สามารถนำทางลาดยาว ของสะพานมาทำเป็นเส้นนำสายตา ในการถ่ายภาพได้

4. การถ่ายภาพกับป้ายคณะ หรือป้ายของมหาวิทยาลัย ต้องระมัดระวัง การยืนที่มุมกล้องไปบังป้ายข้อความ ซึ่งเมื่ออัดภาพออกมาแล้วจะดูไม่ครบถ้วนรายละเอียด วิธีการแก้ไข ก็ควรจะเป็นการถ่ายภาพในมุมเฉียง หรือถ่ายภาพจากระยะห่างไกลๆ

5. ข้อควรระวัง ในการถ่ายภาพในบางสถานที่ อาจจะมีรถยนต์หรือจักรยานยนต์ วิ่งผ่าน ช่างภาพ และบัณฑิต ควรจะให้ ความสนใจ ต้องระมัดระวังอันตรายด้วย บางครั้งช่างภาพ ชอบปีป่ายขึ้นที่สูงหรือลงไปในพื้นที่ต่ำ ต้องระวัง อุบัติเหตุ ด้วย จะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
more
บัณฑิตหรือนางแบบ (Model)
1. สิ่งที่นางแบบหรือบัณฑิตจะต้องเตรียม รวมทั้งควรจะเรียนรู้ เพื่อช่วยเสริมให้ภาพออกมาสวยงาม สิ่งแรกเลยก็คือ การสำรวจเรือนร่างของตัวเอง ตั้งแต่ หัวจรดเท้า ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ผม - ทรงผม ทรงผมของนางแบบหรือตัวบัณฑิต ต้องให้เรียบร้อย เส้นผมถูกจัดให้เข้าทรง ส่วนที่สองชุดครุยที่สวมใส่ของบัณฑิต จะต้องถูกจัดให้ตรง สวยงาม รองเท้าต้องสวมใส่แล้วพอดีเท้า สวย ไม่กัดเท้า เพราะจะต้องเดินถ่ายภาพเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร และอื่นๆ อีกหลายส่วน

2. เรื่องของการแต่งหน้า บัณฑิตควรจะมีการทดลองแต่งหน้า ในวันซ้อมใหญ่ เพื่อให้เห็นจุดบกพร่องของตนเองในการแต่งหน้า เช่น การปัดแก้มให้มีสีแดง การเน้นเส้นโค้งของคิ้ว การทางลิปสติ๊ก สีของลิป การเขียนขอบตา การปัดขนตา การลงรองพื้น และมองแบบรวมๆ จากนั้นอย่าลืมถ่ายภาพลองดูว่าออกมาอย่างไร ยิ่งสมัยปัจจุบันมีกล้องดิจิตอล ด้วยยิ่งเป็นการง่ายในการทดลองแต่งหน้า เพื่อให้วันรับปริญญาจริงจะได้ไม่ผิดพลาดในการแต่งหน้า จะแก้ไขอะไรก็ทันเวลา ย้ำอีกเรื่องหนึ่ง ในส่วนของช่างแต่งหน้า ควรจะได้มีโอกาสแต่งหน้า สักสองครั้ง เพื่อให้มีประสบการณ์กับหน้าของเรา (แต่งวันซ้อม แต่งวันจริง )

3. การโพสท่าสำหรับบัณฑิต มีได้หลากหลายวิธีการ เริ่มตั้งแต่เรื่องของการยืน ควรจะฝึกการยืนถ่ายภาพ การวางเท้า ให้เหมือนเวลานางงามที่เขาประกวดกัน ปลายเท้าข้างหนึ่งชี้ไปข้างหน้า อีกข้างแบะออก การยืนในแบบนี้จะช่วยทำให้ไหล่ผาย ขึ้น เชิดขึ้น ดูสง่างาม แอ่นก้นเล็กน้อย จะช่วยให้ร่างกาย มีส่วนโค้ง สวยงาม

4. การวางมือ หรือการแสดงท่าทางของมือ ควรจะให้ความสำคัญด้วย การวางมือ ทำได้หลายแบบ ลองศึกษาจากภาพประกอบ เรื่องการวางมือของบัณฑิต ที่สำคัญ อย่าวางมือแบบ ยืนตรงเคารพธงชาติ เพราะจะดูธรรมดามาก ไม่น่าสนใจ และไม่สวยงาม

5. การถ่ายภาพนอกจากจะยืนถ่ายภาพแบบธรรมดาไม่ถืออะไร แล้วเรายังสามารถถ่ายภาพ ในแบบที่ถือดอกไม้ หรือของขวัญที่ญาติๆ และเพื่อนนำมามอบให้ด้วย แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ดอกไม้หรือสิ่งที่เราถือนั้น อาจจะบังที่หน้า หรือ บังหน้าเพื่อนๆ ได้ ภาพที่ออกมาอาจจะไม่สวยงาม

6. การสวมมงกุฎ บางครั้งญาติๆ หรือเพื่อนๆ นำมงกุฎมามอบให้ ซึ่งทำด้วยดอกไม้ เวลาสวมที่หัวต้องระวัง ในเรื่องของทรงผมที่เสีย หรืออาจจะทำให้ภาพออกมาเหมือนลิเก อาจจะทั้งสวม และไม่สวมในการถ่ายภาพ ในมุมเดียวกัน อย่าสวมแล้วถ่ายภาพทุกภาพเหมือนกัน หากเป็นอย่างนั้น อาจจะได้ภาพที่ ดูไม่สง่างาม จะได้ภาพแบบ สวยแต่ไม่สง่า

7. การถ่ายภาพของช่างภาพ ควรจะเข้าใจในเรื่องของการตัดส่วนของภาพ โดยการถ่ายภาพบุคคลนั้น หากเป็นการยืน เราสามารถ จัดส่วนของภาพได้หลากหลายแบบ ประกอบด้วย การถ่ายภาพเต็มตัว การถ่ายภาพครึ่งตัว การถ่ายภาพ เฉพาะใบหน้า (Head Shot) การถ่ายภาพ แบบเอียงข้างเข้าหากล้อง การถ่ายภาพแบบหันหลัง การถ่ายภาพ แบบสามส่วน เริ่มจาก เข่า ขึ้นไปจนถึงหัว

8. การถ่ายภาพนางแบบยิ้มหรือไม่ยิ้ม ในการถ่ายภาพช่างภาพ หรือบัณฑิตอาจจะต้องให้มีทั้งแบบที่ยิ้มเห็นฟัน และไม่ยิ้ม เพื่อให้ได้ภาพ ที่หลากหลายอารมย์ เพราะอารมย์ในการยิ้ม และไม่ยิ้ม ให้อารมย์ภาพ แตกต่างกันไป เวลานางแบบยิ้มเองก็ต้องฝึกยิ้มให้พองาม ไม่น้อยหรือไม่มากเกินไป ช่างภาพเองก็จะต้องเปลี่ยน มุมมองไปรอบๆ เพื่อหามุมที่ถ่ายทอดอารมย์ของนางแบบให้มากที่สุด

9. นางแบบ หรือบัณฑิต ที่สวมกระโปรงสั้นๆ หรือเหนือเข่า เวลานั่งจะต้องระมัดระวังด้วย ในบางครั้งอาจจะโป้ มองเห็นเข้าไปข้างในกระโปรง ต้องระวังเวลาจะลุกขึ้นยืนหรือเวลาจะนั่ง กับพื้นหรือกับบันได้ (เป็นข้อระวังสำหรับบัณฑิต)
more
ญาติและเพื่อนๆ บัณฑิต
1. สิ่งแรกที่เพื่อนๆ และญาติ ๆ ของบัณฑิต จะต้องเข้าใจหากจะต้องไปร่วมงาน ถ่ายภาพกับบัณฑิต ก็คือ เรื่องของการเลือกสีของเสื้อผ้าที่สวมใส่ สีที่ไม่ควรสวมมา งานรับปริญญาคือ สีแดง สีเหลือง สี น้ำเงิน เพราะสีต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้การวัดแสดงรวมทั้ง การดึงดูดสายตาเวลาดูภาพ ที่อัดออกมา ควรจะเลือกเสื้อผ้าสี กลาง ๆ เช่น น้ำตาล เทา หรือเขียวอ่อนๆ เอาเป็นว่า ให้เลือกสีกลางๆ แทน จะทำให้เวลาถ่ายภาพ ไม่ไปบดบังความเด่นของบัณฑิต

2. การยืนถ่ายภาพคู่กับบัณฑิต เพื่อนๆ ที่ยืนถ่ายภาพกับบัณฑิต ควรจะให้ไหล่ไปซ้อนหลังของไหล่บัณฑิต เพื่อให้บัณฑิตยืนอยู่ข้างหน้า การยืนไหล่ชนกัน ก็ไม่สวยงาม ลองดูนะ ช่างภาพเองก็จะต้องช่วยจัดให้กับบัณฑิต เพื่อให้ได้ภาพที่สวยงาม

3. ญาติๆ ที่มาร่วมถ่ายภาพ บางครั้งบางคนก็คือ ถุง หรือกระเป๋า เต็มไม้เต็มมือไปหมด ก็ต้องวางไว้ให้เรียบร้อยก่อน ที่จะถ่ายภาพ เพราะหากถืออะไรไว้ในมือมาก ๆ ภาพอาจจะออกมาไม่สวย

4. ญาติ หรือเพื่อนบางครั้งอาจจะต้องทำหน้าที่เป็นช่างภาพจำเป็น เพื่อนอาจจะให้ช่วยถ่ายภาพให้ ก็ต้องระวังไม่ให้มือ ไปบังแฟลช หรือหน้าเลนส์ จะทำให้ภาพที่ออกมา ไม่สมบูรณ์ได้
more
ช่างภาพ (Photographer)
1. ช่างภาพจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะเรื่องของอุปกรณ์ เริ่มจากกล้องช่างภาพจะต้องเตรียมพร้อม ไม่ควรไปฝึกใช้กล้องตัวใหม่ ในงาน ควรจะใช้กล้องถ่ายภาพที่ตัวเองถนัด และชำนาญใช้งานมาก่อน เพราะมีบางครั้งที่ช่างภาพ ถูกว่าจ้างมา โดยเจ้าภาพหรือบัณฑิตหากล้องและอุปกรณ์มาให้ บางครั้งการวัดแสงอาจจะผิดพลาดได้

2. ชุดแต่งกายของช่างภาพ ควรจะให้รัดกุม กระเป๋ากล้องก็ต้องเลือกเราแบบที่ไม่หนัก หรือเกะกะ มาก นำอุปกรณ์ไปด้วยเฉพาะที่จำเป็น หากมีเสื้อกั๊กแนะนำให้ใช้ เสื้อกั๊กจะดีกว่า ทำงานได้คล่องตัว ไม่ต้องหนักบ่า

3. กินอาหารให้เรียบร้อยก่อนการออกไปทำงาน เพราะหากไม่กินอาหารให้เพียงพอ อาจจะเกิดการขาดน้ำตาล หน้ามืดระหว่างการทำงานในภาคสนามได้ หากเป็นไปได้ นำพลังงานสำรองไปด้วยเช่น กล้วย ลูกอม เอาสำรองไว้ในช่วงเวลาที่ ฉุกเฉิน

4. ช่างภาพ ควรจะมีการเรียนรู้ และทำความรู้จักกับบัณฑิต เพื่อจะได้ทำงานกันสนุก เพราะต้องอยู่ด้วยกันทั้งวันหรือบางครั้งอาจจะสองวัน หากไม่เข้าใจอารมย์ ของกันและกันแล้ว การทำงาน ก็อาจจะไม่ราบรื่นได้ ต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ด้วย เป็นเรื่องที่สำคัญ อีกส่วนหนึ่งจะช่วยให้เห็นมุมมองสวยๆ บนใบหน้าของนางแบบ ได้ อีกทางหนึ่ง

5. การเก็บแผ่นบันทึก Card หรือ ฟิล์มที่ถ่ายเสร็จแล้วไว้ในที่ปลอดภัย ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ต้องระวัง มีบ่อยครั้งการถ่ายภาพแล้วสับสน เรื่องฟิล์มที่ใช้แล้ว กับยังไม่ได้ใช้ หากพลาด ก็อาจจะไม่ได้ภาพ เลย ในงานนั้น หรือบางครั้งการใส่ฟิล์มไม่แน่น ไม่เข้าในรูหนามเตย ก็อาจจะทำให้ฟิล์มไม่เดิน ไม่ได้ภาพ ตามที่ต้องการ
more
การวางแผน (Photo Planning)
1. วางแผนการนัดหมาย เรื่องสถานที่นัดหมาย เวลาในการนัดหมาย ระว่างช่างภาพ กับบัณฑิต
2. วางแผนเรื่องการนอน ทั้งของช่างภาพ และของบัณฑิต จะนอนกี่โมง เพื่อตื่นให้ทันเวลาแต่งหน้า และสดชื่น ไม่ใช่อยู่ในสภาพอิดโรย
3. วางแผนเรื่องการสำรองอุปกรณ์ สำรองกล้อง สำรองถ่าน สำรองฟิล์ม
4. วางแผนเรื่องแนวทางการถ่ายภาพ เช่น จะถ่ายภาพแบบไหนบ้าง จะถ่ายภาพองค์ประกอบภาพแบบไหน
5. วางแผนเรื่องสถานที่ถ่ายภาพจะไปถ่ายภาพที่ไหนบ้าง
6. วางแผยเรื่องการถ่ายภาพกับใครบ้าง เช่น อาจารย์บางท่านจะต้องถ่ายภาพคู่ให้ได้
7. วางแผนเรื่องการเตรียมเงินทุนไว้อัดภาพ เมื่อเสร็จงานแล้ว
8. วางแผนเรื่องการดูแลช่างภาพ เช่น ค่าตอบแทน หรือการเลี้ยงข้าว หรือการให้ของขวัญ เมื่อเสร็จงาน เพราะช่างภาพ เขาจะต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์แพงๆ มาใช้ในการถ่ายภาพสวยๆ ให้กับบัณฑิต
more
ทั้งหมดนี้คือข้อแนะนำสำหรับการถ่ายภาพงานรับปริญญาให้สวยงาม
หากบัณฑิตหรือช่างภาพท่านใดต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมโทร. 0-1661-8579 สายตรง เภสัชกรประชาสรรณ์ แสนภักดี ช่างภาพอิสระได้ตลอดเวลา
ถาม-ตอบเรื่องการถ่ายภาพ Photo Webboard


ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้มาก VCD สอนการถ่ายภาพบุคคลอย่างมืออาชีพ โดย เภสัชกรประชาสรรณ์ แสนภักดี ช่างภาพอิสระผู้มีประสบการณ์ในการถ่ายภาพบุคคล มามากกว่า 15 ปี (งานพิธี งานแต่งงาน งานรับปริญญา) รายละเอียดการสั่งซื้อ click


เภสัชกรประชาสรรณ์ แสนภักดี ผู้จัดการศูนย์ฝึกอบรมฯ โทร 0-1661-8579
ศูนย์ฝึกอบรมภูมิปัญญาสู่สากล - Glocalization Training Center
ที่ตั้งเลขที่ 11 หมู่ 8 บ้านหนองโจด ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
โทรศัพท์ /โทรสาร 0-4332-4071   e-mail : glocalization@thaialnd.com   (( www.prachasan.com  |  www.glocalization.org  ))