ว่าด้วยเรื่องของ การมอง และ ไม่มองกล้องของนางแบบ
(Eye and Not Eye with Camera)


เรียบเรียงโดย ภก.ประชาสรรณ์ แสนภักดี (freelance photographer)
ผู้จัดการศูนย์ฝึกอบรมภูมิปัญญาสู่สากล (Glocalization Training Center)
รองประธานชมรมถ่ายภาพ จังหวัดขอนแก่น

          ในการถ่ายภาพบุคคล มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ การให้นางแบบมองหรือไม่มองกล้อง ซึ่งภาพถ่ายที่ออกมาจะให้อารมณ์ภาพ ที่แตกต่างกันออกไป สิ่งสำคัญ ก็คือ ทั้งมอง และไม่มองกล้อง เราก็ควรจะถ่ายภาพ ไว้ทั้งสองแบบ ไม่ควรจะมีแบบใดแบบหนึ่งเพียงแบบเดียวควรจะมีการนำเสนอภาพออกมาในทั้งสองแบบ ลองฝึกการถ่ายภาพ ใน สองรูปแบบดู แล้วจะรู้ว่าน่าสนใจ และแตกต่างเพียงใด จากเดิมๆ ที่เคยถ่ายภาพมา
          การมองกล้อง จะต้องเน้นที่แววตา หรืออารมณ์อันเกิดจากลูกนัยตาของนางแบบ แต่หากเป็นภาพ ที่ถ่ายโดย นางแบบ ไม่มองกล้อง สิ่งสำคัญคือ สีหน้า ท่าทาง เช่น จะต้องเชิดหน้าเพื่อใก้ดูสง่างาม สมกับการเป็นบัณฑิต ลองมาดูภาพ สองภาพตัวอย่างว่า แตกต่างกันอย่างไร ในเรื่องของอารมณ์ภาพ

ทั้งสองภาพ ถ่ายด้วยเลนส์ ตัวเดียวกัน มุมมองเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่ นางแบบ ที่มองและไม่มองกล้อง ซึ่งให้อารมณ์ของภาพ แตกต่างกัน ถ้าเป็นไปได้ ก็ควรจะมีการถ่ายภาพ ไว้ทั้งสองแบบ เพื่อจะได้เก็บไว้เปรียบเทียบกัน ใครชอบมองกล้อง เพียงอย่างเดียวต่อไป ต้องฝึก มองฟ้า มองต้นไม้แทนแล้วนะ จึงจะได้ภาพ ที่สวยๆ แตกต่างกัน สำหรับภาพ ตัวอย่าง ผู้เขียนได้เลือกฉากหลังเป็นอาคาร กาญนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีเส้นกระจายออกเป็นแฉก เสริมให้ตัวแบบมีความสง่างาม มากขึ้น มุมภาพลักษณะนี้จะต้อง เลือกหาพอสมควร ภาพนี้จะสวยงามมากขึ้นหากเลือกเวลาในการถ่ายภาพเป็นตอนบ่าย ๆ ที่แสงส่งที่เส้นผมของนางแบบ จะดูสวยงาม เป็นสีทองอร่าม และจะดีมากขึ้น หากในมือ ของนางแบบมีดอกไม้ให้ถือ ด้วย (แต่พอดี ผู้เขียนทุนน้อย เลยไม่ได้ซื้อดอกไม้ไปด้วย) ใครทุนเยอะก็ลองหาดอกไม้ไปด้วย

เทคนิคหรือความรู้เพิ่มเติม
    หากผู้ที่สนใจความรู้หรือเทคนิคการถ่ายภาพเพิ่มเติม ก็สามารถ e-mail สอบถามแลกเปลี่ยนกับผู้เขียนได้ dmindmap@yahoo.com หรือลงทะเบียนเรียน หลักสูตร การถ่ายภาพระดับมืออาชีพ กับทางศูนย์ฝึกอบรมภูมิปัญญาสู่สากล ยังมีองค์ความรู้ และประสบการณ์อีกมากมายให้เรียนรู้


contact : glocalization@thailand.com