การประยุกต์ใช้ แผนที่ความคิดกับการบริหารเชิงกลยุทธ์
Apply Mind Map ® to Strategic Management

เรียบเรียงโดย ภก.ประชาาสรรณ์ แสนภักดี M.P.H. CMU

       การวางบริหารเชิงกลยุทธ์ กำลังได้รับความนิยมจากองค์กรต่างๆ ผู้เขียนจึงมีแนวคิดที่จะนำเสนอมุมมองเรื่องของการประยุกต์ใช้เครื่องมือ การเขียนแผนที่ความคิด สำหรับการ บริหารเชิงกลยุทธ์ (Mind Map and Management) เพื่อให้เห็นภาพการประยุกต์ใช้อย่างชัดเจน ผู้เขียน ขอยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ ในด้านต่างๆ ประกอบด้วย
       1. การประยุกต์ใช้ในการระดมสมอง (Brainstorming) [SWOT, Stakeholder, Customer, Vision,Mission]
       2. การประยุกต์ใช้ในการวางแผน ( Strategic Planning) [Participation Planning]
       3. การประยุกต์ใช้ในการบริหารโครงการ (Project Management) [Work breakdown structure - WBS]
       4. การประยุกต์ใช้ในการนำเสนอยุทธศาสตร์ (Presentation) [Share Strategic]
       5. การประยุกต์ใช้ในการจัดการความรู้เชิงยุทธศาสตร์ (Knowledge Management Mapping)
       แผนที่ความคิด เป็นเครื่องมือที่สามารถตอบสนองการทำงานเชิงกลยุทธ์ ให้หลากหลายมิติ โดยเฉพาะการใช้ แผนที่ความคิดที่เป็น Software (Mind Map® Software) เพราะสามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมบริหารเชิงกลยุทธ์อื่นๆ เช่น โปรแกรมบริหารโครงการ Project Management Software ผู้ที่สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้ในส่วนของ Mind Map® Software / Mind Map® Topics
        ดังนั้นเรื่องที่จะนำเสนอผ่านบทความนี้ จึงมีอยู่สองเรื่องคือ การจัดการความคิดด้วยแผนที่ความคิด และการเรียนรู้เรื่องของ Strategic Management ซึ่งผู้สนใจสามารถลงลึกในรายละเอียด ได้จากการเรียนรู้จากตำราวิชาการที่มีอยู่จำนวนมาก
       บทความฉบับผู้เขียนเรียบเรียงขึ้นจากการ ห้องประชุม โรงแรมโซฟิเทล ในการเข้าร่วมเป็นวิทยากร บรรยาย การประยุกต์ใช้ Mind Map ในการวิเคราะห์ Stakeholder ซึ่งผู้เขียนได้รับเชิญให้ร่วมบรรยาย หลักการประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที ในวันที่ 8 มิถุนายน 2547 เวลา 10.45-12.00 น. และการสาธิตการใช้งานโปรแกรม MindMapper v3.5 ในวันที่ 10 มิถุนายน2547 ภาคบ่าย
       เรามาลงในรายละเอียดเรื่องของการประยุกต์ใช้แผนที่ความคิดกันเลยนะครับว่า เขานำไปใช้อย่างไร แบบไหน ผลของการนำไปใช้เป็นเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง กับองค์กร และวิธีการทำงาน

การใช้แผนที่ความคิดในการระดมสมอง (Mind Map and Brainstorming)
       เทคนิคการระดมสมอง (Brainstorming) เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยม ในการประชุม การสัมมนา รวมทั้งการ รวบรวมความคิดเห็น ขององค์กรทุกระดับ ทั้งขนาดใหญ่ ไปจนถึง การประชุมภาคประชาชน ในชุมชน เครือข่ายประชาคม เรื่องของ การระดมสมอง สิ่งสำคัญก็ต้องเข้าใจหลักการที่แท้จริงของ การระดมสมองก่อนนำ มาใช้ Mind Map จะช่วยระดมสมองในเรื่องอะไรได้บ้าง? เรื่องที่สามารถนำไปใช้งานได้ ประกอบด้วย SWOT analysis องค์กร - Vision Statement construction การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม - Stakeholder Analysis การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร - Problems Define การวิเคราะห์ปัญหา
       การนำไปใช้แต่ละเรื่องมีขั้นตอนการใช้งาน Mind Map ตามลำดับดังนี้
       - การระดมความคิดเห็น ด้วย Mind Map
       - การสรุปภาพความคิดออกมาเป็น Mind Map
       - การนำเสนอความคิดด้วยภาพ Mind Map
       - การนำข้อมูล Mind Map ไปใช้งาน

SWOT analysis - การประยุกต์ใช้ Mind Map ในการวิเคราะห์ SWOT analysis

จากภาพเป็นตัวอย่างการใช้ Mind Map ในการวิเคราะห์ SWOT ทำให้ผู้เข้าร่วมการประชุม สัมมนา หรือการระดมสมอง มองเห็นภาพรวม และเป็น การมองเห็นโอกาส ในการเชื่อมโยงสู่การสร้างยุทธศาสตร์ (The Whole The Parts The Whole) ด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอ์เราสามารถสั่งให้ Mind Map เปลี่ยนรูปแบบในการ แสดงผลได้ดังภาพ

ในการค้นหา SWOT analysis เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์อาจจะแยกประเด็น แต่ละ องค์ประกอบออกมาใช้ในการ เขียน Mind Map ได้ เช่น แยกจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค เพื่อเจาะลึกข้อมูล การใช้ mind map เป็นสื่อกลาง จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ในการระดมความคิดเห็นของสมาชิก ของคนในองค์กร

การประยุกต์ใช้ Mind Map ในการวางแผนการทำงาน (Strategic Planning)

       การจัดทำแผนกลยุทธ์ส่วนหนึ่ง จะต้องมีการจัดทำ Strategic Map แผนที่กลยุทธ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำ Balanced Scorecard - BSC แผนที่ความคิดจะช่วยให้เราสามารถเชื่อมโยงเส้นทางข้อมูล เกิดเป็นแผนที่ความคิดที่มีความสมบูรณ์ เก็บได้ทั้งรายละเอียด ภาพรวม และภาพย่อย ที่สำคัญ Mind Map® จะช่วยให้เราสามารถรวบรวมข้อมูลจากสหสาขา หรือสหศาสตร์เข้ามาไว้ในแผนที่ความคิดแผ่นเดียวได้ (Multidisciplinary to on Mind Map®) ศึกษาข้อมูล การประยุกต์ใช้ Mind Map® กับ Balanced Scorecard ได้จาก เรื่อง BSC ขั้นตอนการประยุกต์ใช้ Mind Map
       - ระดมสมองด้วย Mind Map® ถึงเป้าหมายของการทำงาน
       - จัดการข้อมูลด้วย Mind Map® ในการจัดหมวดหมู่ของงาน (Work Breakdown Structure - WBS)
       - ส่งข้อมูลออกจากโปรแกรม Mind Map® ไปยัง โปรแกรมทางด้านการจัดการโครงการ เช่น MS Project Management (Project 2000-2003)
       - เนื่องจากการจัดทำแผนกลยุทธ์จะต้องอาศัยการประชุมเพื่อนำเสนอมุมมองและความคิดเห็นเป็นหลัก ดังนั้น Mind Map จะเป็นเครื่องมือในการรวบรวมความคิดเห็น
นี่เป็นเพียงบางส่วนของการประยุกต์ใช้งาน Mind Map® ในการบริหารเชิงกลยุทธ์ ยังมีอีกหลายมุมมอง ผู้เขียนคงจะขอเปิดภาพ เรื่องนี้ไว้เพียงบางส่วนเท่านี้หากท่านใด สนใจ ก็สามารถไปศึกษาเพิ่มเติมได้ ไม่ยากนัก

ติดต่อผู้เขียน : glocalization@thailand.com
หรือ webmaster@prachasan.com